[รีวิว] Motorola XOOM ภาค 2 โดย TabletD.com
หลังจากดูภาคแรกกันไปแล้วก็มาต่อกันที่ภาค 2 ของรีวิว Motorola XOOM ครับ โดยภาคนี้จะเป็นส่วนซอฟท์แวร์ ทดสอบประสิทธิภาพและสรุปส่งท้าย ซึ่งจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเชิญชมกันได้เลยครับ
หน้าตาการใช้งาน
สำหรับ Motorola XOOM ตัวที่ผมได้มานี้จะรันระบบปฏิบัติการ Android 3.0.1 Honeycomb หน้าตาการใช้งานก็เป็น Honeycomb แบบดั้งเดิมไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมส่วนใดเข้ามา
หน้า Home Screen
หน้าแสดงแอปพริเคชั่นทั้งหมดภายในเครื่อง
เมื่อแตะที่ไอคอนแอปพริเคชั่นค้างไว้จะมีปุ่ม Uninstall แสดงขึ้นที่มุมขวาบนของหน้า ส่วนด้านล่างจะแสดงหน้า Home Screen 5 จอเราสามารถลากไอคอนไปแสดงไว้ได้
อีเมลล์
เหมือนกับ Honeycomb ทั่วไปก็คือจะมีแอปพริเคชั่นอีเมลล์จำนวน 2 ตัวคือ Gmail และ Email สามารถใช้งานอีเมลล์ของเจ้าอื่นที่ไม่ใช่ Google ได้ (Hotmail, Yahoo เป็นต้น) ส่วนขั้นตอนการใช้งานก็ต้องเข้าไปทำการตั้งค่าอีเมลล์เสียก่อนที่เมนู Settings -> Accounts & sync -> Add Account
หน้าจอแสดงอีเมลล์แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ซ้าย - แสดงโฟลเดอร์, ขวา - แสดงอีเมลล์ในโฟลเดอร์ ที่มุมขวาบนของจอจะมีปุ่ม ค้นหา, เขียนอีเมลล์, รีเฟลช และ ตั้งค่าอยู่
กรณีที่ต้องการดูเนื้อหาภายในอีเมลล์ในทัชที่อีเมลล์นั้นแล้วหน้าจอจะแสดงดังรูปข้างบน
หน้าจอเขียนอีเมลล์
แผนที่
ใครเคยใช้ Google Maps ก็คงจะคุ้นเคยกันดีครับไม่ต่างกันเท่าไร โดยเราสามารถจะกำหนดเส้นทางการเดินทางไปที่จุดหมายได้ซึ่งตัว XOOM นั้นก็จะมี A-GPS ที่ช่วยให้สามารถใช้งานภายในตึกหรืออาคารแต่จำเป็นจะต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเสียก่อน
ระบุตำแหน่งปัจจุบันของเรา
ค้นหาสถานที่ต่างๆอย่างเช่น ร้านอาหาร, ร้านกาแฟ, บาร์, ตู้ ATMs เป็นต้น
ผลลัพธ์จากการค้นหาร้านอาคารก็จะระบุได้เลยว่าแถวบ้านผมมีร้านอาหารอะไรบ้าง
เป็นส่วนแสดง Layers ต่างๆ สามารถเลือกแสดงการจราจร, ภาพจากดาวเทียม
สามารถกำหนดเส้นทางการเดินทางได้
Youtube
สามารถใช้งานได้เป็นปกติครับไม่มีอาการกระตุกหรือสะดุดใดๆ
Web Browser
หน้าตาจะคล้ายๆกับ Google Chrome เวอร์ชั่นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีแท็บด้านบนสามารถเปิดหลายเว็บพร้อมกันได้ ส่วนการแสดงผลภาษาไทยก็ไม่มีปัญหาครับ
Music
แอปพริเคชั่นสำหรับฟังเพลงโดยเราสามารถจะเปิดเพลงฟังไปด้วยพร้อมกับใช้งานอย่างอื่นได้
แสดงอัลบั้มเพลงที่มีในเครื่อง
หลังจากเลือกอัลบั้มก็จะแสดงเพลงทั้งหมดที่อยู่ในอัลบั้มนั้น
พอเลือกเพลงที่จะฟังก็จะเป็นหน้าจอดังรูปข้างบนครับ
สามารถใช้งานอย่างอื่นไปพร้อมกับฟังเพลงได้ ซึ่งกรณีที่ถ้าเราต้องการฟังเพลงถัดไปหรือหยุดเล่นก็ให้ทำการทัชที่ไอคอนหูฟังมุมขวาล่าง เมื่อท้ชแล้วก็จะมีหน้าจอขึ้นมาดังรูป
แอปอื่นๆ
เครื่องคิดเลข
ปฏิทิน
สามารถระบุตารางเวลากิจกรรมต่างๆในแอปปฏิทินได้
ถ้าใครมี Dock หรือแท่นตั้งก็สามารถจะใช้ XOOM เป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะได้ แถมยังตั้งปลุกได้อีกต่างหาก
Gallery
แอปสำหรับดูรูปและไฟล์วีดีโอต่างๆภายในเครื่อง
กล้อง
Motorola XOOM จะมีกล้องหลังความละเอียด 5 ล้านพิกเซลที่มีออโต้โฟกัสและไฟแฟลช 2 ดวง จากการทดสอบภาพที่ถ่ายออกมาก็ถือได้ว่าชัดใช้ได้ส่วนเสียงเมื่อตอนอัดเป็นวีดีโอก็ปกติไม่มีอู้อี้หรือบาดหูแต่อย่างใด และนอกจากกล้องหลัง 5 ล้านพิกเซลแล้ว XOOM ยังมีกล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซลซึ่งจากผลการทดสอบเสียงที่ได้ก็ปกติดีครับ
ทดสอบประสิทธิภาพ
ก่อนทำการทดสอบผมจะทำการเคลียร์หรือ kill แอปพริเคชั่นต่างๆที่เปิดอยู่ให้หมดเสียก่อนด้วยแอป advanced task killer แล้วจึงทำการทดสอบแต่ละแอปจำนวน 3 รอบนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย จึงได้คะแนนออกมาดังข้อมูลข้างล่างนี้ครับ
Quadrant - ทดสอบความเร็วของซีพียู, Input/Output (การรับส่งข้อมูล) และประสิทธิภาพด้าน 3 มิติ : (ยิ่งสูงยิ่งดี)
- ASUS Eee Pad Transformer - 2185 คะแนน
- Acer Iconia Tab A500 - 2210 คะแนน
- Motorola XOOM - 1869 คะแนน
Linpack :
ASUS Eee Pad Transformer
- MFLOPS : 41.558 - Millions of Floating-point Operations Per Second ยิ่งคะแนนสูงยิ่งดี
- Time : 2.017 Seconds - ยิ่งต่ำยิ่งดี
- Norm Res : 5.68
- Precision : 2.220446049250313E-16
Acer Iconia Tab A500
- MFLOPS : 42.515 - Millions of Floating-point Operations Per Second ยิ่งคะแนนสูงยิ่งดี
- Time : 1.97 Seconds - ยิ่งต่ำยิ่งดี
- Norm Res : 5.68
- Precision : 2.220446049250313E-16
Motorola XOOM(**เนื่องจากตัวแอป Linkpack มีการอัพเวอร์ชั่นใหม่ซึ่งจะแยกเป็นการทดสอบ Single Thread และ Multi-Thread เลยอาจจะเทียบกับการทดสอบตัวอื่นๆไม่ได้ครับ)
- MFLOPS : 32.012 - Millions of Floating-point Operations Per Second ยิ่งคะแนนสูงยิ่งดี
- Time : 2.64 Seconds - ยิ่งต่ำยิ่งดี
- Norm Res : 5.68
- Precision : 2.220446049250313E-16
รันแบบ Multi-Thread สำหรับทดสอบหน่วยประมวลผลที่มีซีพียูแบบหลายคอร์โดยเฉพาะMotorola XOOM
- MFLOPS : 60.31 - Millions of Floating-point Operations Per Second ยิ่งคะแนนสูงยิ่งดี
- Time : 2.795 Seconds - ยิ่งต่ำยิ่งดี
- Norm Res : 3.24
- Precision : 2.220446049250313E-16
FPS2D - ทดสอบความเร็วในการแสดงภาพ 2 มิติ :
ASUS Eee Pad Transformer
- avg : 66.67 fps - วัดออกมาเป็นหน่วย fps (frames per second) หรือจำนวนภาพที่แสดงได้ภายใน 1 วินาที
- stdev : 8.57 - ยิ่งคะแนนต่ำมากเท่าไรก็จะมีความต่อเนื่องในการแสดงภาพมากเท่านั้น
Acer Iconia Tab A500
- avg : 50.67 fps - วัดออกมาเป็นหน่วย fps (frames per second) หรือจำนวนภาพที่แสดงได้ภายใน 1 วินาที
- stdev : 5.67 - ยิ่งคะแนนต่ำมากเท่าไรก็จะมีความต่อเนื่องในการแสดงภาพมากเท่านั้น
Motorola XOOM
- avg : 55.33 fps - วัดออกมาเป็นหน่วย fps (frames per second) หรือจำนวนภาพที่แสดงได้ภายใน 1 วินาที
- stdev : 8.60 - ยิ่งคะแนนต่ำมากเท่าไรก็จะมีความต่อเนื่องในการแสดงภาพมากเท่านั้น
สรุป
จุดเด่นของ Motorola XOOM นั้นอยู่ที่การออกแบบตัวเครื่องและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตทำออกมาได้ดีทีเดียว งานเนี้ยบ แข็งแรง มั่นคง สวยงามและดูดี แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆนั้นถ้าเทียบกับยี่ห้ออื่นๆแล้วไม่ค่อยจะมีเท่าไรนักซอฟท์แวร์จะใช้ของดั้งเดิม Honeycomb เสียหมดส่วนนึงอาจจะเป็นเพราะว่าออกวางขายเป็นเจ้าแรกเลยไม่ได้มีการเพิ่มเติมอะไรเข้าไป นอกจากนี้ยังมีอีกปัจจัยที่สำคัญและจะลืมไปไม่ได้เลยก็คือเรื่องราคา สำหรับ Motorola XOOM ที่วางขายในไทยนั้นถือว่ามีราคาค่อนข้างจะสูงไปนิดเมื่อเทียบกับยี่ห้ออื่นซึ่งถ้าราคาขายลดต่ำลงกว่านี้อีกสักหน่อยก็จะดูน่าสนใจไม่น้อย แต่ถ้าใครไม่ซีเรียสกับ 2 ปัจจัยข้างต้นแล้วละก็ผมว่า XOOM จะเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ครับ
คะแนนตามความคิดผู้รีวิว เฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 6.4/10
- รูปร่างการออกแบบ : 7
- วัสดุและฮาร์ดแวร์ : 8
- ฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆ : 5
- ซอฟท์แวร์ : 6
- ความคุ้มค่า : 6
ขอขอบคุณบริษัท SiS Distribution (Thailand) จำกัด สำหรับเครื่องที่ให้ยืมในการรีวิวครั้งนี้
ที่มา: tabletd