มาทำความรู้จักกับ SoC และชิพ NVIDIA Tegra 2 คืออะไร ดียังไง
วันที่:
28 มี.ค. 55 - 16:49 ผู้ชม : 44538 ครั้ง
NVIDIA Tegra 2 หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาแล้วบ้าง แต่สำหรับในปีหน้าแล้วนั้นเชื่อว่าจะต้องรู้จักกันมากขึ้นอย่างแน่นอนครับ เพราะว่าในปีหน้านั้นจะได้เห็น NVIDIA Tegra 2 ในมือถือหรือแท็บเล็ตต่างๆมากมายค่อนข้างแน่นอนแล้ว
NVIDIA Tegra 2 คืออะไร ?? และ SoC คืออะไร ??
ผมยอมรับเลยว่าก่อนหน้านี้เข้าใจผิดคิดว่า NVIDIA Tegra 2 นั้นคือซีพียูแต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นน่ะครับ NVIDIA Tegra 2 นั้นเปิ็นชิพแบบ SoC (system-on-a-chip คือการรวมส่วนต่างๆเข้ามาอยู่ในชิพตัวเดียว รวมถึง CPU และ GPU ด้วย) ซึ่งในชิพ NVIDIA Tegra 2 นั้นจะประกอบไปด้วย
Dual-core ARM Cortex A9 : CPU
- เป็นซีพียูแบบ Dual-core หรือก็คือมีซีพียู ARM Cortex A9 จำนวน 2 ตัวนั้นเอง
Ultra-low power (ULP) GeForce : GPU
- เป็นจีพียูที่ใช้พลังงานต่ำ แต่มีประสิทธิภาพสูงและการทำงานด้าน 3 มิติที่ดีขึ้น
1080p Video Playback Processor
- เป็นตัวประมวลผลเมื่อเวลาที่เล่นวีดีโอแบบ HD และแบบ streaming HD (ตัวอย่างเช่นดู Youtube) ที่ความละเอียด 1080p โดยที่ไม่กินแบตมากนัก
1080p Video Encode Processor
- เป็นตัวประมวลผลเมื่อเวลาบันทึกวีดีโอหรือการคุยผ่านวีดีโอ (Video call) โดยจะทำการเข้ารหัสวีดีโอที่ความละเอียด 1080p แบบ HD และส่งไปเพื่อแสดงผล
Image Signal Processor (ISP)
- เป็นตัวประมวลผลที่ทำให้สามารถรองรับภาพจากกล้องที่มีีความละเอียด 12 ล้านพิกเซลได้ และยังช่วยทำงานในด้านภาพและวีดีโอให้แสดงผลได้อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ, ตรวจจับหน้า, โหมดลูกเล่นเกี่ยวกับภาพและวีดีโอต่างๆ, ควมคุมแสง, ลดจุดสีที่ไม่สมบูรณ์ในภาพและส่งภาพไปแสดงผลแบบ real-time
Audio Processor
- เป็นตัวประมวลสัญญาณเสียงและส่งออกมา ซึ่งสามารถที่จะเล่นไฟล์ mp3 128kbps ได้ติดต่อกันยาวนานถึง 140 ชม.ในการชาร์จแบตแค่ครั้งเดียว
ARM7 Processor
- เป็นตัวจัดการระบบฟังก์ชั่นต่างๆ ช่วยให้แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
ยังมีฟีเจอร์สำคัญอีกดังต่อไปนี้
High-Definition Digital Display Output
- รองรับการต่อออกทีวีและแสดงภาพที่ความละเอียด 1080p HDTV ผ่านทางช่องต่อ HDMI
OpenGL® ES 2.0 Optimizations and Support
- รองรับแอปที่พัฒนาโดยใช้ชุดคำสั่ง OpenGL เพื่อช่วยให้ภาพ 2 มิติ 3 มิติ ที่ได้ดีขึ้นและเร็วขึ้น
Global Power Management System
- ดูแลและควบคุมฮาร์ดแวร์ต่างๆภายในเครื่องให้สามารถทำงานโดยที่ใช้พลังงานให้น้อยที่สุดแต่ประสิทธิภาพยังเต็มที่เหมือนเดิม
มาดูกันต่อว่า NVIDIA Tegra 2 ที่มี CPU แบบ Dual-core นั้น ดียังไง
ขอยกบทความที่ผมเคยแปลไว้แล้วจากเอกสารของทาง NVIDIA มารวมไว้ในบทความอันนี้เลยนะครับ
NVIDIA โชว์ข้อมูลซีีพียูหลายหัว (Multi Core) ย่อมดีกว่าหัวเดียว (Single Core)
เปิดเวปได้เร็วขึ้นเพราะมีตัวช่วยไม่ได้ทำคนเดียว
จากรูปฝั่งซ้ายเป็นแบบ 1 คอร์ส่วนฝั่งขวาเป็นแบบ 2 คอร์จะเห็นได้ว่าแบบ 2 คอร์มีการแบ่งกันทำงานคนละครึ่งช่วยให้เสร็จเร็วยิ่งขึ้น
ส่วนรูปนี้แสดงให้เห็นว่าซีพียูแต่ละคอร์ทำงานกันไปกี่เปอร์เซ็นต์
จากรูปซีพียูตัวแรกทำงาน 56.9% และซีพียูตัวสองทำงานไป 30.4%
เห็นได้ว่าช่วยกันทำมาหาิกินจริงๆ
ใช้โปรแกรม Moonbat ทดสอบการทำงานของ JavaScript ผลออกมาเร็วกว่า GalaxyS เกือบถึง 2.5 เท่า
ชิพ NVIDIA Tegra 2 แบบ 2 คอร์ทำงานเร็วกว่าแบบ 1 คอร์อย่างเห็นได้ชัด (2.0 วินาที กับ 3.5 วินาที)
อีกตัวเป็นตัวการทำสอบโดยใช้โปรแกรม Coremark จะเห็นได้ว่า 2 คอร์เร็วกว่า 1 คอร์เท่าตัว
เวลาเฉลี่ยในการโหลดเว็บเสร็จ 2 คอร์ทำเวลา 4.3 วินาทีส่วน 1 คอร์ทำเวลา 6.3 วินาที
การใช้พลังงานที่น้อยลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
จากรูปแสดงการใช้พลังงานแบบ 2 คอร์ที่น้อยกว่าแบบ 1 คอร์ถึง 40% เพราะการมีซีพียู 2 คอร์นั้นจะช่วยกันในการทำงานโดยแบ่งกันคนละครึ่งทำให้ซีพียูไม่ต้องทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งถ้าซีพียูทำงานเยอะเท่าไรก็จะยิ่งกินไฟเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
คุณภาพในการเล่นเกมส์ที่ดีขึ้น
ซีพียูแบบ 2 คอร์นั้นมีการรองรับเทคโนโลยี SMP (Symmetric MultiProcessing) และ multithread ยังไม่พอ NVIDIA Tegra 2 นั้นยังมีหน่วยประมวลผลด้านภาพ Ultra Low Power (ULP) GeForce GPU ช่วยให้การทำงานนั้นดีขึ้น
การตอบสนองต่อผู้ใช้งานที่ดีขึ้นและการทำงานพร้อมกันหลายโปรแกรมที่รวดเร็วขึ้น (Multitasking)
จากรูปทดสอบอัตราการแสดงผลโดยเกมส์ Quake ได้ Frame Rate ที่สูงกว่าแบบ 1 คอร์ถึง 1.6 เท่า
และทดสอบโดยเกมส์ Dungeon Defender ได้ Frame Rate ที่สูกว่าแบบ 1 คอร์ถึง 2 เ่ท่า
สรุปส่งท้าย
เราก็ได้เห็นไปแล้วนะครับว่าชิพ NVIDIA Tegra 2 คืออะไรและดีอย่างไร แต่ทว่า่ถึงจะมีชิพที่ดีเลิศหรูเพียงใดถ้าซอฟท์แวร์หรือระบบปฏิบัติการที่ใช้ยังไม่รองรับ ประสิทธิภาพก็ไม่ได้ต่างจากซีพียูธรรมดาเท่าไร ซึ่งเราก็ได้เห็นตัวอย่างแท็บเล็ตที่ใช้ชิพ NVIDIA Tegra 2 กันไปแล้วนั่นก็คือ Toshiba AS100 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 Froyo และไม่ได้ทำมาเพื่อรองรับซีพียูแบบ 2 คอร์ทำให้ประิสิทธิภาพที่ได้นั้นแทบจะไม่แตกต่างจาก Samsung Galaxy Tab ที่ใช้ชิพ Hummingbird (ซีพียู ARM Cortex A8 คอร์เดียว) เท่าไรนัก ก็คงต้องรอซอฟท์แวร์และระบบปฏิบัติการที่สามารถดึงประสิทธิภาพของชิพ NVIDIA Tegra 2 ให้แสดงออกมาอย่างเต็มที่กันก่อนล่ะครับ แล้วค่อยมาดูกันว่ามันจะเร็วจริงอย่างที่ NVIDIA โฆษณาไว้หรือไม่
เรียบเรียงโดย isack จากที่มา
ที่มา: tabletd